วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้

วันนี้เราทำสื่อสองชิ้นโดยอาจารย์มีตัวอย่างให้เลือกสองอย่างและทำภายในชม.

 แบบที่1.




                                  แบบที่2.

       





       และอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์ให้เริ่มทำ กลุ่มของเราก็คิดและออกแบบเป็นอวกาศและอีกชิ้นทำเป็นโลมา หลังจากนั้นก็เริ่มลงมือทำจนสำเร็จ









     

   และเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จ ก็นำมาวางให้เพื่อนแต่ละกลุ่มดู


ประเมินตนเอง :ตั้งใจทำและให้ความร่วมมือกับสมาชิกเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์สอนเข้าใจง่ายและให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจทำงาน ช่วยกันทำงานทุกกลุ่ม
วันอังคาร ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
 วันนี้อาจารย์ได้ให้ออกมาเล่าบทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้และได้ให้ทำกิจกรรมได้ลองทำสื่อโดยอาจารย์มีอุปกรณ์มาให้ร่วมกันทำภายในกลุ่ม


 ต่อมาอาจารย์ได้สอนทำสื่อมีทั้งหมด 5 ชิ้นงานได้แก่ การด์ป๊อปอัพ แม่ไก่ออกไข่ ไม้หมุน วงกลมภาพ แผ่นพับหมวดคำศัพท์แต่ทำเสร็จบางส่วน ได้แก่

1.การด์ป๊อปอัพดอกไม้

ชิ้นที่ 2 และ 3 เป็นแม่ไก่ออกไข่และไม้หมุน







ประเมินตนเอง :ตั้งใจเรียนและพยายามทำความเข้าใจในขั้นตอนการทำสื่อ
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์เลือกสื่อที่ให้ทำได้อย่างเหมาะสม
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
วันอังคาร ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้เริ่มเรียนในบทที่ 4 เรื่องกระบวนการใช้สื่อประกอบการสอน 
      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อเด็ก

      จุดมุ่งหมายของเกม


1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง

6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
   เกมการศึกษา หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
   ประเภทของเกมการศึกษา
    1. เกมการจับคู่
 สิ่งที่เหมือนกัน
 สิ่งที่สัมพันธ์กัน
 สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
 สิ่งที่ขาดหายไป
     2.เกมการจัดหมวดหมู่
     เกมภาพตัดต่อ
     3.เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
 เรียงลำดับเหตุการณ์
 เรียงลำดับขนาด
 เรียงลำดับจำนวน
    4.เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
   5.เกมตารางสัมพันธ์
    6.เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    7.เกมลอตโต
ประเมินตนเอง :ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : สอนเข้าใจและมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
วันอังคาร ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้เราเริ่มเรียนกันในบทที่ 3 เรื่องสื่อ การเล่นพัฒนาของเด็กปฐมวัย


    สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์
      ลักษณะของสื่อการสอนเด็กปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้

10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้
     ความสำคัญของสื่อ
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ
      และหลังจากที่อาจารย์อธิบายเพาเวอร์พอยเสร็จ อาจารณืได้ให้ทำกิจกรรมวิเคราะห์สื่อ โดยให้นักศึกษาเตรียมสื่อที่มีอยู่ที่บ้านมา และมาวิเคราะห์ ดังนี้















                และนี่คือสื่อที่ดิฉันเตรียมมา ชื่อสื่อว่า กล่องแยกรูปทรง กล่องนี้สามารถสอนเด็กในกรแยกรูปทรงเรขาคณิตได้เบื้องต้น เหมาะสำหรับเด็ก3-4ปี เป็นสื่อประเภทวัสดุ สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์และศิลปะ และยังเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดังนี้
       ด้านร่างกาย เด็กได้ขยันกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
       ด้านอารมณ์ เด็กได้เล่นกับเพื่อน เกิดความสนุกสนาน
       ด้านสังคม เด็กได้พูดคุยกับเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิด
       ด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆของเรขาคณิต

ประเมินตนเอง :ตั้งใจเรียนและจดบันทึกการเรียน
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนเป็นอย่างดีและอธิบายเข้าใจ
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์ยังสอนอยู่ในบทที่ 1 ต่อในเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความเหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
   2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
   3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ
   ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
   1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
     •มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
     •ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
     •จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
     •เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
     •จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
     •บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
     •เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
     •มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
     •เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
   2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
     •สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
     • สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
     • วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
     • ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
     • บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
     •มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
     •มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
     •เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อวานนี้เป็นต้น
   3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
     •สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
     •ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
     •จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
     •วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
     •และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
     •วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
     •บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
     •มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
     •มีความสนใจในความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ดีขึ้น
  4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
 •สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
 •ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
 •นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
 •จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
 •รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
 •จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
 •มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
 •มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่
เกิดขึ้นได้


ประเมินตนเอง   :ตั้งใจเรียน และ ตั้งใจจดบันทีึก
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง ใจดี สอนเข้าใจ
ประเมินเพื่อน          :ตั้งใจเรียน